Palm*Meezoozoo;)

แกรนด์แคนยอน

Picture
 เป็นภูเขาหินทรายแดงที่สึกกร่อนโดยธรรมชาติ  เป็นภูเขาที่มีลานกว้าง  มีหน้าผาสลับซับซ้อนมากมายแต่ไม่มีต้นไม้สีเขียว  เป็นธรรมชาติที่แปลกตามาก  ซึ่งตั้งอยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริการัฐแอริโซนา  และผู้ที่ค้นพบก็คือ  พันเอกจอห์นบลิว  โพเวล  เป็นผู้สำรวจชาวยุโรป  ในปัจจุบันก็ได้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่ง

ตึกรัฐสภาสหรัฐอเมริกา

Picture
ตึกรัฐสภาแห่งนี้สร้างด้วยหินอ่อนสีขาวมีลักษณะเป็นโดมสูง 268 ฟุต  ยาว 750 ฟุต  กว้าง 375 ฟุต  ภายในใช้หินอ่อนและแกะสลักลวดลายเสาสร้างแบบกรีก  มีภาพสีน้ำมันที่เป็นสถาปัตยกรรมที่สวยงาม  และเป็นตึกรัฐสภาที่สวยงามเป็นอันดับ 1 ของโลกด้วย

พีระมิดเม็กซิโก

Picture
 ตั้งอยู่ที่เมืองเตเออตีวากันประเทศเม็กซิโก  สร้างขึ้นโดยชนเผ่าพื้นเมืองโบราณของอเมริกาชื่อ ตอลเตค  เพื่อบูชาพระอาทิตย์และพระจันทร์  ซึ่งมีลักษณะคล้ายพีระมิดอียิปต์สร้างด้วยอิฐและปูนขาวเป็นชั้นๆ  สูง 216 ฟุตฐานกว้างด้านละ 721 ฟุต  และได้มีความเชื่อกันว่าภายในพีระมิดได้บรรจุอัฐิของกษัตริย์ของชาวตอลเตค  ในปัจจุบันนี้ชนเผ่านี้ได้สาบสูญไปหมดแล้วเหลือไว้เพียงแต่โบราณสถานที่สำคัญที่แสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองของชนเผ่าทิ้งไว้ให้คนรุ่นหลังศึกษาค้นคว้ากันต่อไป

คลองปานามา

Picture
สถานที่ตั้ง คอคอดระหว่างทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ ประเทศปานามา
ปัจจุบัน สามารถเข้าเยี่ยมชมได้
        คลองปานามาเป็นคลองขุดตัดคอคอดระหว่างทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ในประเทศปานามาให้มีทางเดินเรือทางลัดจากมหาสมุทรอัตลันติคไปสู่มหาสมุทรแปซิฟิกได้สะดวกและรวดเร็ว ผู้เริ่มขุดคลองนี้คือ เฟอร์ดินัน เดอ ลสเซปส์ วิศกรผู้ขุดคลองสุเอซนั่นเองแต่เขาทำไปได้ไม่สำเร็จต้องล้มเลิกไป รัฐบาลอเมริกันจึงเข้าดำเนินการรับช่วงต่อและขุดสำเร็จเมื่อ พ.ศ. 2457 เป็นคลองยาว 50 3/4 ไมล์ มีส่วนกว้าง 300-400 ฟุต ลึก 35-40 ฟุต สิ้นเงินค่าสร้าง 700,000,000 ปอนด์ ช่วยย่นระยะทางในการต้องอ้อมแหลมสุดของอเมริกาถึง 6,700 ไมล์ แต่ที่แปลกไปกว่าคลองสุเอซก็คือ คลองนี้ขุดขึ้นไปบนที่สูง ผ่านทะเลสาบหลายแห่ง จึงต้องทำประตูระบายน้ำไว้เป็นตอน ๆ เพื่อยกระดับเรือให้สูงขึ้นจนเสมอระดับน้ำในทะเลสาบ แล้วไปลงทางอีกด้านหนึ่งด้วยการลดระดับน้ำให้ต่ำลงไปจนเทียบเท่ากับระดับน้ำทะเล จัดเป็นคลองเดินเรือนานาชนิดที่สำคัญมากคลองหนึ่ง
 ความเป็นมาของคลองปานามา
        ก่อนปี ค.ศ. 1914 ถ้าใครอยากเดินทางจากนครนิวยอร์กไปยังนครซานฟรานซิสโก เขาผู้นั้นต้องเดินทางรอนแรมทางเรือเดินสมุทรอ้อมทวีปอเมริกาใต้ เป็นระยะทางถึง 20,900 กิโลเมตร เชื่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรแอตแลนติกในบริเวณอเมริกากลาง ซึ่งมีลักษณะเหมือนเอวกิ่วขอดระหว่างทวีปอเมริกาเหนือและทวีปอเมริกาใต้ได้สำเร็จแล้วก็จะสามารถย่นระยะทางและเวลาเดินทางไปอย่างมากมาย
        ในปี ค.ศ. 1878 ฝรั่งเศสเป็นชาติแรกที่ตั้งใจจะลงมือปฏิบัติการให้ความฝันที่กล่าวถึงเป็นจริง นักผจญภัยชาวฝรั่งเศสชื่อ ลูเซียน นะโปเลียน โบนาปาร์ต ไวส์ ได้รับสัมปทานจากรับบาลโคลัมเบีย (ขณะนั้นปานามาเป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศดคลัมเบีย) ให้ขุดคลองซึ่งจะเชื่อมระหว่างสองมหาสมุทรในบริเวณปานามาเขาได้ขายสัมปทานต่อให้กับบริษัทฝรั่งเศสที่บริหารดดยนายเฟอร์ดินาน เดอเลซเซป ซึ้งดำเนินการขุดคลองปานามาในทันที แต่ความพยายามก่อสร้างคลองของบริษัทฝรั่งเศสไม่สำเร็จ ด้วยเหตุผลหลายประการด้วยกันคือ
        ประการแรก เพื่อนร่วมงานและนักการเมืองที่สนับสนุนเขามีใจไม่ซื่อขโมยเอาเงินจำนวนมากไปจากบริษัท
        ประการที่สอง บริษัทวางแผนจะสร้างคลองที่จะมีระดับน้ำในคลองอยู่ในระดับเดียวกับน้ำในมหาสมุทร กล่าวคือไม่สร้างประตูกั้นน้ำ ซึ่งเป็นเรื่งยาก และฝรั่งเศสก็ไม่มีเทคโนโลยีและเครื่องจักรที่ทันสมันพอที่จะดำเนินการดังกล่าว
        ประการสุดท้ายที่ดูจะเป็นอุปสรรคที่สำคัญที่สุดคือ โรคภัยไข้เจ็บในภูมิภาคเขตร้อนที่คนงานก่อสร้างคลองต้องเผชิญทั้งโรคไข้เหลืองและมาลาเรีย คร่าชีวิตคนงานเป็นจำนวนมากและทำให้การก่อสร้างไม่คืบหน้าเท่าไหร่
        ในที่สุด บริษัทของนายเดอเลซเซปก็ล้มละลายต้องขายโครงการขุดคลองทอดตลาดไป ประเทศที่เล็งเห็นความสำคัญของการขุดคลองนี้คือประเทศสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้เพราะระหว่างสงครามที่สหรัฐฯ ทำกับสเปนในปี ค.ศ. 1898 การเดินทางระหว่างฝั่งตะวันตกกับตะวันออกของสหรัฐฯ กลายเป็นเรื่องยุทธศาสตร์ขึ้นมา ถ้ามีคลองลัดย่นระยะทางการเดินทางของเรือรบและเรือขนส่งยุทธสัมภาระได้ ก็จะเป็นผลดีอย่างยิ่งในการป้องกันประเทศ รับบาลสหรัฐจึงได้หันมาให้ความสนใจเรื่องนี้อย่างจริงจัง
        แต่ก่อนจะซื้อสัมปทานสหรัฐฯ ก็ได้ไปเจรจากับรัฐบาลโคลัมเบียก่อนว่าหากสหรัฐฯลงทุนขุดคลองแล้วก็ขอให้ฝ่ายหลังยินยอมให้สหรัฐฯ เช่าพื้นที่บริเวณนั้นเพื่อดำเนินการควบคุมการเข้าออกของเรือที่จะผ่านคลอง แต่รัฐบาลโคลัมเบียก็มัวเกี่ยงงอนเรื่องราคาค่าเช่าที่ ไม่ยอมตกลงกับรัฐบาลสหรัฐฯง่าย ๆ พอดีขณะนั้น ชาวปานามาซึ่งกลัวว่าโคลัมเบียจะไม่แบ่งผลประโยช์ให้เท่าที่พวกตนควรจะได้ก็ได้ก่อการปฏิวัติขึ้นและประกาศตัวเป็นประเทศเอกราช สหรัฐฯได้รับรองเอกราชของปานามาและยังได้ช่วยไม่ให้โคลัมเบียยกกองทหารเข้ามาปราบปรามชาวปานามาได้ ในที่สุดสหรัฐฯก็ได้ทำสัญญากันในปี ค.ศ.1903 โดยปานามายกกรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นระยะทางกว้าง 10 กิโลเมตร ตลอดแนวทางที่สหรัฐฯ จะขุดคลองให้รัฐบาลสหรัฐฯเป็นผู้ดำเนินการบริหารเป็นสิทธิขาดตลอดไปโดยสหรัฐฯจะจ่ายเงินตอบแนให้ปานามาเป็นจำนวนเงิน 10 ล้านดอลลาร์และจะให้เป็นประจำทุกปี อีกปีละ 250,000 ดอลลาร์
        เมื่อจบเรื่องทางการเมืองแล้ว สหรัฐฯจึงได้เริ่มดำเนินการก่อสร้างคลองปานามาในปี ค.ศ.1904 ก่อนอื่นหสรัฐฯได้ศึกษาความล้มเหลวของบริษัทฝรั่งเศสเสียก่อนและได้เริ่มลงมือปราบปรามโรคร้ายที่เป็นอุปสรรคสำคัญในการก่อสร้างคลอง พันเอก วิลเลียม ซี กอร์กัสได้รับมอบหมายให้ดำเนินการดังกล่าว เขาเป็นหมอทหารที่มีชื่อเสียงมาจากการปราบปรามโรคร้ายในประเทศคิวบา
        กอร์กัสได้เริ่มรณรงค์ขจัดยุงชนิดหนึ่งซึ่งเป็นพาหะในการนำโรคไข้เหลืองและมาลาเรีย โดยการขจัดหนองน้ำที่เป็นแหล่งเพาะพัมธุ์และขจัดพงหญ้าที่เป็นแหล่งหลบซ่อนตัวของยุงเหล่านั้น ตลอดจนกำจัดหนูซึ่งเป็นพาหะกาฬโรค เขาใช้เวลาในการกำจัดอยู่ 10 ปี รัฐบาลสหรัฐฯได้ใช้เงินไปประมาณ 20 ล้านดอลลาร์เฉพาะในการปราบปรามโรคเหล่านี้
        ใน ค.ศ.1914 การดำเนินการก่อสร้างคลองนี้ก็ได้เริ่มขึ้น โดยสหรัฐฯตัดสินใจที่จะก่อสร้างคลองที่มีประตูกั้นน้ำเป็นระยะ ๆ แทนที่จะเป็นคลองที่มีระดับน้ำเท่ากับระดับน้ำทะเล
        การขุดคลองปานามาเป็นเรื่องยากสหรัฐใช้คนงานถึง 43,400 คน เงินประมาณกว่า 380 ล้านดอลลาร์ ต้องสร้างประตูน้ำหลายประตู และยังต้องขุดเข้าไปในภูเขา และสร้างเขื่อนกันน้ำด้วย
        ในเดือนสองหาคม ค.ศ.1914 การก่อสร้างคลองปานามาจึงได้เสร็จสิ้นสมบูรณ์ คลองซึ่งมีความยาว 80 กว่า กิโลเมตร สามารถย่นระยะการเดนทางระหว่างฝั่งทะเลด้านตะวันตกและตะวันออกของสหรัฐฯไปถึง 15,700 กิโลเมตร
        ภายหลังจากคลองได้มีการเปิดใช้งานเป็นเวลาหลายปี รัฐบาลปานามาก็เริ่มแสดงความไม่พอใจว่าสนธิสัญญาที่ทำกับสหรัฐฯ โดยมอบกรรมสิทธิ์ที่ดินและการบริหารงานบริเวณคลองให้สหรัฐฯ เป็นสัญญาที่อยุติธรรมชาวปานามาได้ก่อการจราจลขึ่นในปี ค.ศ. 1964 มีชาวปานามาเสียชีวิต 20 คน และชาวอเมริกัน 4 คน รัฐบาลสหรัฐฯ ซึ่งอยากจะรับความสะมพันธ์อันดีของตนกับประเทศในละตินอเมริกาเอาไว้ จึงได้ยอมทำสัญญาใหม่กับปานามาโดยยอมคืนกรรมสิทธิที่ดินบริเวณคลอง ให้กับปานามาในปี ค.ศ.1979 นอกจากนั้นยังได้สัญญาว่าจะยอมมอบสิทธิในหารบริหารคลองปานามาให้กับรัฐบาลปานามาในปี ค.ศ.1999
        คลองปานามาเป็นเส้นทางคมนาคมทางน้ำที่สำคัญยิ่งยวดทั้งทางด้านการทหารและการค้า เรือกว่า 13,500 ลำ ใช้เส้นทางนี้เป็นประจำทุกปี 55% ของเรือดังกล่าววิ่งระหว่างฝั่งทะเลตะวันออกและฝั่งทะเลตะวันตกของสหรัฐฯ สินค้าหนักกว่า 148 ล้านเมตริกตันผ่านเข้า-ออกคลองปานามาในทุก ๆ ปี