Palm*Meezoozoo;)

เกรท แบริเออร์ รีฟ (แนวปะการังใหญ่)
: Great Barrier Reef

Picture
สถานที่ตั้ง   แหลมเคปยอร์ค รัฐควีนแลนด์ ประเทศออสเตรเลีย ปัจจุบัน สามารถเข้าเยี่ยมชมได้
        เป็น "สิ่งก่อสร้างที่มีชีวิต" ที่ใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตในทะเลที่สดใส รวมทั้งปะการังชนิดอ่อน และชนิดแข็ง สีสวยกว่า 350 ชนิด ตลอดจนปลา และสิ่งมีชีวิตในทะเลที่น่าพิศวงต่าง ๆ อีก 1500 ชนิด

        แนวปะการังนี้เริ่มตั้งแต่แหลมเคปยอร์ค (Cape York) ซึ่งอยู่ไกลขึ้นไปทางเหนือของรัฐควีนแลนด์ ลงมาถึงบันดะเบอร์ก (Bundaberk) ทางตอนใต้ แนวปะการังอันกว้างใหญ่ไพศาลนี้ อยู่ในความดูแลขององค์การสวนทางทะเล เกรท แบริเออร์ รีฟ (The Great Barrier Reef Marine Park Authority) และครอบคลุมดูแลพื้นที่ 215,000 ตารางไมล์ หรือ 345,000 ตารางกิโลเมตร ของน่านน้ำรอบ ๆ แนวปะการัง เป็นสวนทางทะเลที่ใหญ่ทีสุดในโลกสิที่ได้รับการดูแลและปกป้องอย่างดี

        แนวปะการังซึ่งดูเหมือนกับป่าใต้น้ำนี้ เจริญเติบโตในเขตทะเลร้อน กระแสน้ำอุ่น และเป็นที่อยู่อาศัยอย่างหนาแน่นของชีวิตสัตว์ทะเลที่ต่าง ๆ กันได้แก่ ฟองน้ำ 10,000 ชนิด ปะการัง 350 ชนิด หอย 4,000 ชนิด ปลาดาวและซี เออร์ชิน (Sea Urchin)ซึ่งเป็นสัตว์ประเภทคล้ายหอย 350 ชนิด และปลามากกว่า 1,500 ชนิด นักดำน้ำประมาณว่าจะต้องดำน้ำถึงพันครั้งทจึงจะได้เห็นจุดเด่นของปะการังแห่งนี้ทั้งหมด

        สำหรับนักเดินทางที่ไม่ถนัดเรื่องกีฬาดำน้ำ ก็ไม่ต้องตระหนกตกใจจนไม่กล้าไปเยือน เพราะเขามีวิถีทางชื่นชมความงามของสวนใต้น้ำต่าง ๆ กันไป เช่น มีเรือท้องกระจก หรือเรือกึ่งเรือดำน้ำ โดยไม่ต้องกระโดดลงไปในทะเลตัวเปียกปอนเปล่า ๆ หรือถ้าไม่เชี่ยวชาญการดำน้ำแบบใช้ท่อออกซิเจน แค่ดำน้ำใช้ท่อหายใจทางปากอย่างที่หลายคน โดยเฉพาะเด็ก ๆ ใช้กันธิคุณก็จะมีโอกาสได้เพลิดเพลินกับความประหลาดมหัศจรรย์ของแนวปะการัง

       บริเวณพื้นที่แนวปะการังและเกาะควีนแลนด์ ซึ่งมีพื้นที่กว้างไกลกว่า 1,562 ไมล์ หรือ 2,500 ก.ม. มีแนวปะการังมากกว่า 2,900 แนว รวมทั้งมีเกาะขนาดต่าง ๆ กันและเกาะที่เกิดจากการรวมตัวของแนวปะการังอีกหลายร้อยเกาะ แนวปะการังใหญ่นี้ถูกแบ่งออกเป็น 3 ส่วนชัดังนี้

       แนวปะการังเหนือ (Northern Reef)
       หมู่เกาะวิทซันเดย์ (Whitsunday Island)
       แนวปะการังใต้ (Southern Reef)

        ด้วยความเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติขนาดมหึมา จึงได้รับการพิจารณาจากองค์การ UNESCO ให้อนุรักษ์เป็นมรดกโลก (World Heritage List) และอาจเป็นเพราะความสัมพันธ์ทางระบบนิเวศซึ่งมรดกโลกมหึมานี้ยังเป็นที่อยู่ให้กับสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ อีกทั้งปลา หอย งู ปลาวาฬ เต่า รวมแล้วมากกว่า 6,000ยชนิดนอกจากนี้ยังพบว่าเป็นบริเวณที่มีพยูนอาศัยมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลกอีกด้วย

เอเยอร์สร็อค
: Ayers Rock

Picture
สถานที่ตั้ง   ประเทศ ออสเตรเลีย ปัจจุบัน สามารถเข้าเยี่ยมชมได้
        เอเยอร์สร็อค (Ayers Rock) หรือ อูลูรู (Uluru) เป็นหินศักดิ์สิทธิ์ของชาวอะบอริจินิส หรือ อะนานู มากว่า 40,000 ปี เป็นเขาเดี่ยวที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีลักษระกลมมนขนาดใหญ่ตั้งอยู่กลางที่ราบ โดยวัดจากทางทิศตะวันออกไปตะวันตกได้ 3.1 กิโลเมตร วัดจากเหนือมาใต้ได้ 1.9 กิดลเมตร ส่วนสูง 348 เมตร และรอบฐานยาว 9.4 กิโลเมตร มีคนมาเที่ยวปีหนึ่งประมาณ 300,000 คน ค้นพบเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 1873 โดย วิลเลียม คริสตี้ กอสส์ ชื่อเอเยอร์สร็อค ตั้งให้เป็นเกียรติกับ เซอร์เฮนรี เอเยอร์ส หัวหน้า เลขานุการแห่งออสเตรเลียใต้

        เอเยอร์สร็อค มีลักษณะส่วนประกอบเป็นหินเชิงเดี่ยวหรือเป็นหินชนิดเดียว (เนื้อเดียว)ตลอดทั้งแท่ง(ก้อน) สีแดงเข้ม ที่น่า ประทับใจผู้ไปชมคือ ในตอนกลางวันอากาศปลอดโปร่งแจ่มใสจะปรากฎ เป็นแสงสะท้อนออกมาเป็นสีเหลืองทองให้เห้นบริเวณเดียว ถ้า มองที่ไกลๆ ออกมา

        เอเยอร์สร็อคเกิดจากเม็ดหินที่เรียบและเล็กเป็นเม็ดแร่ที่ใส โดยวิธีการมารวมกันของหินต่างๆ หลายชนิดมารวมกัน ไม่ว่า จะเป็นหินสีเทา หินสีเขียว หินบะซอลต์ หินแกรนิต ฯลฯ ส่วนที่เกิดเป็นสีแดงนั้นเพราะอากาศ ฝุ่น น้ำ หรืออาจเรียกว่าหินเป็นสนิมก็ได้ และนั่นเป็นทำให้ เอเยอร์สร็อคกลายเป็นกระจกเงาที่สะท้อนแสงสีของอาทิตย์ เมื่อฝนตกน้ำฝนได้หลากจากหน้าผาสูงชัน กัดเซาะมา กองรวมกันเป็นชั้นโดยมีโคลนเป็นตัวร่วมเป็นตัวรวมกันหนากว่า 2-6 กิโลเมตร เป็นเวลากว่าร้อยล้านปี จนเมื่อ 400 ล้านปีก่อนเมื่อ เกิกการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกครั้งใหญ่ ชั้นหินที่รวมตัวกัน อยู่ในแนวนอนเกิดการดันตัวจากที่เป็นแนวนอน แรงดันทำให้ชั้นหินเกิด การวางตัวในแนวตั้ง ต่อมาอีก 300 ล้านปี เมื่อฝนและลมชะเอาดินทรายออกไป ส่วนปลายของชั้นหินจึงปรากฎขึ้นมา ดังนั้นเอเยอร์สร็อค ที่เห็นอยู่จึงเป็นเพียงส่วนปลายของ ชั้นหินที่วางตัวยาวไปทางตะวันตกเฉียงใต้ถึง 5-6 กิโลเมตร

        ในถ้ำใต้หินมีภาพวาดเก่า แก่มีมาแต่เดิม จากการศึกษาค้นคว้าด้านชีวิตและวัฒนธรรมประจำถิ่นของ ซี.พี.เมาท์ฟอร์ด ยืนยันว่า ภาพเขียนดังกล่าวไม่เกี่ยวกับความเชื่อ ทางศาสนาแต่แสดงถึงสัญลักษณ์ของชีวิตพวกเขาที่อาศัยอยู่แถบนี้มีความเชื่อว่าโลกแบน นอกจากนี้ ยังแสดงวีรกรรมอันยิ่งใหญ่ของบรรพบุรุษไว้เป้นอันมาก

        ทางด้านใต้ ของหินเป็นเขตของพวกปิตชานด์จารา ซึ่งมีตำนานนิยายการรบระหว่างงูพรมกับศัตรูมีพิษอื่น ๆ สู้กันถึงเลือดนองแผ่นดิน

        ทางด้านเหนือ มีตำนานเกี่ยวกับกระต่ายวัลลาบีหรือจิงโจ้หนู ซึ่งเป็นรูปแกะสลักที่คนเคารพนับถือ มีเรื่องรบราฆ่าฟันล้างแค้นกันระหว่างคนกับยักษ์

        การปีนขึ้นไปบนหินจนถึงยอดทำได้โดยอาศัยโซ่เป็นเครื่องมือ ภูมิภาพมองจากยอดหินจะเป็นที่ราบโล่งเบื้องล่าง เอเยอร์สร็อคนั้นเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของชาวอะบอริจินิส ซึ่งเป็นชาวพื้นเมือง พวกเขาเชื่อว่าเอเยอร์สร็อคเป็นการรังสรรค์ ของพระเจ้าที่ประทานให้กับชาวอะบอริจินิส การปีนป่ายจึงถือว่า เป็นการละเมิดสิ่งศักดิ์สิทธิ์นี้แต่เนื่องจากเป็นเพียงความเชื่อเท่านั้นจึงมี ผู้คนจากทุกสารทิศเป็นจำนวนมากที่ต้องการปีนไปถึงยอดเขา มีทั้งที่ปีนสำเร็จและไม่สำเร็จ ทั้งนี้ ชาวอะบอริจินิสได้ติดป้ายปรกาศเตือน สำหรับผู้ที่มีสุขภาพไม่แข็งแรงก็ไม่ควรฝึกปีนเพราะมีหลายครั้งที่เกิดอุบัติเหตุหรือการสูญเสียชีวิต การตั้งป้ายประกาศนี้อาจเป็นเพราะ ว่าชาวอะบอริจินิสเห็นว่าเมื่อไม่สามารถทัดทานการปีนเขาได้จึงป้องกันไม่ให้เกิดการสูญเสีย